รายละเอียดทั่วไป
โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต (STPP - Sodium Tripolyphosphate) - เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก ไม่ใช่โซดาไฟ ส่วนโซดาไฟคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่างแก่ โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต เป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวต่าง ๆ
โดยโซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟตมีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ จับคราบสกปรกและกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารจะช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ป้องกันโปรตีนเสื่อมคุณภาพ, รักษาสีสรรของผลิตภัณฑ์, ลดการ เกิดเจลในน้ำผลไม้ และเนื้อแฮมกระป๋อง และทำให้ถั่วประป๋องมีความอ่อนนุ่ม, ลดการเหี่ยวย่นในอาหารจำพวกไส้กรอก สามารถเรียกชื่อได้อีกอย่างว่า เพนตะโซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต และโซเดียม ไตรฟอสเฟต ลดความกระด้างของน้ำ ข่วยให้ซักล้างมีประสิทธิภาพเป็นสารบัฟเฟอร์จับคราบสกปรก และกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับ มาติดผิวอีก เหมาะสำหรับงาน ทำความสะอาด Textile industries, Metal cleaning. sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก STPP ไม่ใช่โซดาไฟ โซดาไฟคือโซเดียมไฮดรอกไซด์ - เป็นด่างแก่STPP เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส STPP ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวต่าง ๆ
โดย STPP มีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ จับคราบสกปรกและกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารจะช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ป้องกันโปรทีนเสื่อมคุณภาพ รักษาสีสันของผลิตภัณฑ์
สารประกอบฟอสเฟตเป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายๆชนิดเช่น อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตนม ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ โดยการผลิตสารประกอบฟอสเฟตนั้นสามารถผลิตได้จากกระดูกสัตว์ หินฟอสเฟต หรือปฏิกิริยาระหว่างไอออนของโลหะกับกรดฟอสฟอริก ซึ่งสารประกอบฟอสเฟตนั้นได้รับการรับรองในเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปลอดภัย(GRAS; Generally Recognized as Safe) จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในประเทศไทยตามประการของกระทรวงสาธารณสุข (2547) นั้นได้มีการกำหนดปริมาณของสารประกอบฟอสเฟตสูงสุดที่สามารถใส่ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม และขาหมูรมควันไว้ที่ 3000 มิลลิกรัม ต่อผลิตภัณฑ์ 1กิโลกรัม
ประโยชน์ด้านต่างๆ
โดยวัตถุประสงค์ของการใส่สารประกอบฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อ
1. ทำสีของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้มีความคงตัว
2. เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้นั้นมี รสสัมผัสที่นุ่มและมีความชุ่มฉ่ำมากขึ้น
3. ป้องกันการเกิดกลิ่นและรสชาติที่น่ารับประทาน โดยสารประกอบฟอสเฟตนั้นจะมีฤทธิ์ในการช่วยกันการหืนของอาหาร
4. ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
5. ลดปริมาณของโซเดียมคลอไรด์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป
สินค้าจาก ไทย , จีน